หน้าแรก » เกร็ดความรู้

ผู้นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม - Giant Leo

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

ทุกวันนี้ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ยิ่งนับวันก็จะมีสารเคมีในชีวิตประจำวันใหม่ๆเกิดขึ้น สารเคมีที่เราพบเจอกันในชีวิตประจำวันนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มง่ายๆ คือสารเคมีดำรงชีวิต และ สารเคมีกับสิ่งแวดล้อม
 

สารเคมีดำรงชีวิต
เราสามารถแบ่งสารเคมีดำรงชีวิตออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. สารเคมีประกอบอาหาร 2. สารเคมีทำความสะอาด 3. สารเคมีเครื่องสำอาง และ 4. สารเคมีเพื่อสุขภาพ


1. สารเคมีประกอบอาหาร

1.1. ผงชูรส

    • มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท (Monosodium Glutamate) หรือ MSG
    • ทำหน้าที่ กระตุ้นปุ่มรับรสสัมผัสที่ลิ้นให้รับรสได้ไวมากขึ้น
    • ผลกระทบต่อร่างกาย
      • สมองเสื่อม
      • มีพิษต่อประสาทตา เพราะผงชูรสทำลายเซลล์ในชั้นในของจอตา (Retina)
      • ยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูก ไขกระดูก
      • เป็นสารก่อมะเร็ง

1.2. น้ำส้มสายชู

    • ประกอบด้วยกรดน้ำส้ม หรือ กรดอะซิติก (Acetic Acid)
    • โดยทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ น้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูกลั่น และน้ำส้มสายชูปลอม
      • น้ำส้มสายชูหมักได้จากการหมักธัญพืช ผลไม้ หรือน้ำตาล กับยีสต์
      • น้ำส้มสายชูกลั่น ผลิตโดยการเอาแอลกอฮอล์มากลั่นหมักกับเชื้อกรดน้ำส้ม
      • น้ำส้มสายชูปลอม ได้จากการนำกรดกำมะทันมาผสมน้ำให้เจือจาง
    • ไม่มีอันตรายต่อร่างกายหากบริโภคในปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

1.3. สารกันเสีย หรือ สารกันบูด

    • ทำหน้าที่ทำลายและยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารไม่ให้เจริญเติบโต เพื่อป้องกันอาหารบูดเน่า
    • แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
      • กลุ่มเบนโซอิก (Benzoic Acid)และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid)
        • เป็นอันตรายต่อสุขภาพน้อยที่สุด แต่ถ้าได้รับในปริมาณสูงเกินไป อาจทำให้ท้องเสียได้
      • กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์
        • หากบริโภคในปริมาณมาก อาจทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ในเซลล์ต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาหารตัวเขียว หายใจไม่ออก และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

1.4. สารกันหืน

    • ทำหน้าที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันอิ่มตัว และช่วยชะลอการเสียของอาหาร
    • แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
      • วัตถุกันหืนตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
        • สารประกอบ ฟีนอลิกจากพืชและเครื่องเทศ รวมถึงกรดฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และอนุพันธ์ กรดเอสเทอร์ออฟ-แกลลิกลิกแนน ความารีน และฟลาโวน
        • กรดอะมิโน เปปไตด์ โปรตีนไฮโดรไลเซตและสารที่เกิดจากปฏิกิริยาเมลลาร์ด พบว่าสามารถช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันและน้ำมัน
        • กรดไฟติกและไฟเตตเป็นสารประกอบที่มีประจุลบสูง พบมากในธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง
        • ฟอสฟอลิปิดเป็นผลิตผลพลอยได้ ที่ได้จากขั้นตอนการทำน้ำมันให้บริสุทธิ์
        • วิตามิน เช่น วิตามินซี วิตามินอี
        • เอนไซม์เช่น กลูโคสออกซิเดส ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส
      • วัตถุกันหืนสังเคราะห์ ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
        • บีเอชเอ (BHA, Butylated hydroxyl anisole)
        • บีเอชที (BHT, Butylated hydroxyl toluene)
        • ทีบีเอชคิว (TBHQ, Tertiary butylhydroquinone)
        • โพรพิลแกลเลต (PG, Propyl gallate)
    • การใช้วัตถุกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในอาหารนั้น ถ้าหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน พบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิดปกติแก่ผู้บริโภคและเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิดปกติกับสัตว์ทดลอง เป็นมะเร็ง และเนื้องอกได้

1.5. เกลือ

    • มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride)
    • หากบริโภคในปริมาณมาก อาจเป็นทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และไตวายได้

1.6. น้ำตาล

    • มีชื่อทางเคมีว่า ซูโครส (Sucrose)
    • หากบริโภคในปริมาณมาก อาจเป็นทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

2. สารเคมีทำความสะอาด

2.1. สบู่

    • เป็นสารเคมีประเภทเกลือของกรดไขมัน (Fatty Acid)
    • ช่วยทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว
    • แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 5 ชนิดดังนี้
      • สบู่ถูตัว
      • สบู่ยา เป็นสบู่ถูตัวที่มีการผสมตัวสารฆ่าเชื้อโรค และป้องกันการติดเชื้อ
      • สบู่โกนหนวด
      • สบู่ซักผ้า ผสมสารโซเดียวคาร์บอเนต (Sodium Carbonate)
      • สบู่ซักเส้นใย เป็นสบู่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า สบู่ที่ดีที่สุดทำมาจากน้ำมันมะกอกผสมกับโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide)

2.2 แชมพู

    • เป็นสารเคมีประเภทเดียวกับที่ใช้ในสบู่ แต่ผสมสารเคมีอื่นๆ เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ เช่น
      • สารเพิ่มฟอง
      • สารทำให้ขุ่น
      • สารทำละลาย
      • สารเพิ่มคาวมหนืด
      • สารกันรังแค
      • สารกันเสีย

2.3. ผงซักฟองสังเคราะห์

    • เป็นสารเคมีประเภทเดียวกับที่ใช้ในสบู่ แต่ผสมสารเคมีอื่นๆ เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ เช่น
      • สารลดความกระด่างของน้ำ
      • สารเรืองแสงเพื่อเพิ่มความขาว และสดใสให้กับผ้า
      • เอนไซม์ (Enzyme): เป็นสารช่วยย่อยสารอินทรีย์ ได้แก่ เอนไซม์ย่อยโปรตีน (Protease)
      • สารยับยั้งแบคทีเรีย

3. สารเคมีเครื่องสำอาง

สารเคมีเครื่องสําอางเป็นสารเคมีในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ซึ่งใช้สัมผัสกับร่างกายเฉพาะภายนอก ได้แก่เส้นผม เล็บ ผิวหนัง ช่องปาก ฟัน และภายนอกอวัยวะเพศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ความสะอาด กลิ่นหอม ปกป้องหรือส่งเสริมให้สวยงามและดูดี สารเคมีเครื่องสําอางสามารถแบ่งออกเพื่อความเข้าใจโดยง่าย ได้ 3 ประเภทได้แก่1. สารเคมีในเครื่องสําอางประเภทบํารุงรักษา 2. สารเคมีในเครื่องสําอางประเภทเสริมแต่งและ3. สารเคมีที่ให้ผลเฉพาะ

3.1. สารเคมีในเครื่องสําอางประเภทบํารุงรักษา

    • น้ำยานวดผม: มีสารหลักที่ใช้คือสารที่มีประจุบวกซึ่งจะหักล้างประจุไฟฟ้าลบที่หลงเหลืออยู่บนเส้นผม ทําให้ผมนิ่มไม่กระด่าง
    • ครีมและโลชั่นทาหน้า: มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกน้ำมัน ไขมัน และขี้ผึ้งจากพืชหรือสัตว์หรือจากสารสังเคราะห์
    • สารทำให้ผิวสดชื่น และสารสมานผิว
    • ครีมและโลชั่นทาผิว และครีมฮอร์โมน

3.2. สารเคมีในเครื่องสําอางประเภทเสริมแต่ง

    • น้ำยาดัด และโกรกผม
    • เครื่องสำอางแต่งหน้า
      • ครีมรองผื้น
      • แป้งผัดหน้า
      • สารแต่งตา
      • สารทาแก้ม
      • สารทาริมฝีปากและลิปสติค

3.3. สารเคมีที่ให้ผลเฉพาะ

    • ครีมลดรอยฝ้า
    • สารป้องกันแดด
    • เครื่องสำอางทำให้ผิวขาว
    • เครื่องสำอางระงับกลิ่น
    • เครื่องสำอางเฉพาะบริเวณ

4. สารเคมีเพื่อสุขภาพ

เป็นกลุ่มสารเคมีที่ผลิตขึ้นโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ บำรุงรักษา ดูแล และเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค

4.1. ยารักษาโรค

4.1.1. ยาที่ได้จากสารธรรมชาติ

      • ยาที่ได้จากแร่ธาตุ
      • ยาที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น อินซูลินจากตับหมูและวัว

4.1.2. ยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี

4.2. อาหารเสริม

4.2.1. อาหารเสริมสุขภาพจากพืช: เช่น น้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส สาหร่ายคอเรลลา เห็ดหลินจือ

4.2.2. อาหารเสริมสุขภาพจากสัตว์: เช่น น้ำผิ้ง น้ำมันตับปลา รังนก

4.3. สมุนไพร

หมายถึง สารที่ได้จากพืชในธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอกผล สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและบำรุงร่างกายได้

 

ที่มา:

http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/Bio_11_2559_antioxidant.pdf

http://fe.rmutl.ac.th/2012/wp-content/uploads/Week-6.pdf

แนะนำวิธีล้างผักปนเปื้อนสารเคมีตกค้าง

 

แนะนำวิธีล้างผักปนเปื้อนสารเคมีตกค้าง

จากที่สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้นำเสนอข่าวเปิดผลตรวจ 10 ผักยอดนิยมของคนไทย พบ “กะเพรา” มีสารเคมีตกค้างมากสุด เตรียมใช้ กม.ผู้บริโภค เอาผิดผู้ประกอบการ

วันที่ 27 มีนาคม 2558 นักวิจัยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN เสนอให้มีการทบทวนวิธีการล้างผัก ชี้การล้างโดยใช้น้ำส้มสายชูมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ด่างทับทิมและเบคกิ้งโซดา เตือนวิธีการล้างทุกวิธีมีข้อจำกัด ล้างสารที่ตกค้างมากได้ไม่ถึงครึ่ง ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไปพร้อมกัน

ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดประชุมวิชาการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประจำปี 2558 โดยในวันที่ 27 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่สองของการประชุม ได้มีการจัดการแถลงข่าวเกี่ยวความรู้เรื่องการล้างผัก โดยนางสาวอังคณา ราชนิยม ได้เปิดเผยผลการศึกษาซึ่งรวบรวมงานศึกษาเกี่ยวกับการล้างจากต่างประเทศและประเทศไทยมาสังเคราะห์ โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ว่ามีสารพิษชนิดใดตกค้างในผักและผลไม้มากที่สุดของประเทศไทยบ้าง พบว่า สารที่พบการตกค้างมากที่สุด 6 อันดับแรกได้แก่ ไซเปอร์เมทริน(Cypermethrin) คลอไพรีฟอส (Chlorpyrifos) โปรฟีโนฟอส (Profenofos) โอเมโธเอท (Omethoate) คาร์โบฟูราน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)

นางสาวอังคณาสรุปผลจากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพในการล้างผักและผลไม้สำหรับลดสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างบ่อยในประเทศไทย เรียงตามลำดับประสิทธิภาพในการล้าง มีดังต่อไปนี้

1) การล้างด้วยน้ำส้มสายชู เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะลดสารที่ตกค้างมากที่สุดได้ 48% สารลำดับที่สองได้ 87% และสารลำดับที่สามได้ 32-85%

2) การล้างด้วยด่างทับทิมและโซเดียมไบคาร์บอเนตได้ผลใกล้เคียงกันมากโดยด่างทับทิมลดสารตกค้างมากที่สุดได้ 20% สารตกค้างอันดับสองได้ 87% และลดสารตกค้างอันดับที่สามได้ 18-83% การล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตลดสารที่ตกค้างมากที่สุดได้เพียง 8% ลำดับสองได้ 87% ลำดับสามได้ 42 %

4) การล้างด้วยน้ำสะอาดและน้ำเกลือให้ผลใกล้เคียงกัน โดยการล้างด้วยน้ำในสารไซเปอร์เมทริน ทำได้ดีกว่าน้ำเกลือเล็กน้อย ขณะที่ในสารลำดับที่สองนั้นการล้างด้วยน้ำเกลือให้ผลดีกว่าเล็กน้อย ส่วนสารอื่นๆ ที่เหลือให้ผลใกล้เคียงกัน

แนะนำวิธีล้างผักผลไม้ที่เหมาะสมและสามารถล้างสารตกค้างได้มากที่สุด

เปรียบเทียบประสิทธิภาพการล้างผักโดยวิธีการต่างๆ

ความสามารถในการล้างสารตกค้างลำดับรอง

โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ให้คำแนะนำในการล้างผักผลไม้สำหรับประชาชนที่สามารถลดสารเคมีให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ มี 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.ล้างด้วยน้ำไหลเพื่อขจัดคราบของดิน สิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเชื้อต่างๆ ตลอดจนสารพิษบางส่วน

2.แช่ผักและผลไม้ในน้ำส้มสายชู นาน 10-15 นาที ถ้าไม่มีน้ำส้มสายชูก็อาจใช้น้ำด่างทับทิมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่าการใช้น้ำส้มสายชู

3.ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำไหลเพื่อชะล้างน้ำส้มสายชู และสารเคมีบางส่วนออก

จากผลการศึกษาพบว่า การล้างในทุกวิธียังมีการตกค้างของสารเคมีที่พบบ่อยมากที่สุดในอันดับแรกคือไซเปอร์เมทรินสูงค่อนข้างมาก โดยวิธีการล้างที่ดีที่สุดยังสามารถลดการตกค้างได้ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งแนะนำว่าการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบคกิ้งโซดาจะสามารถลดการตกค้างได้ 90-95 เปอร์เซ็นต์แล้วแต่ชนิดผักนั้น ไม่สอดคล้องกับรายงานนี้

“การล้างเป็นเพียงวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของผู้บริโภคเท่านั้น วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นอกเหนือจากการเลือกซื้อผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ คือ การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างบ่อย และมีพิษทั้งเฉียบพลันสูง เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล และมีพิษภัยเรื้อรัง เช่น คลอไพรีฟอส เป็นต้น โดยนอกเหนือจากประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรงแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดไปพร้อมๆ กันด้วย” นางสาวอังคณากล่าว

ที่มา: https://thaipublica.org/2015/03/toxic-food-crisis-12/